ค้นหาบทความ

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝึกทำข้อสอบ Pre Ent วิชาสังคมศึกษา

ฝึกทำข้อสอบ Pre Ent วิชาสังคมศึกษา

มีทั้งหมด 80 ข้อ

1. มนุษย์และสัตว์มีความเหมือนกันอยู่หลายข้อ ยกเว้นข้อใด

  1. ความสามารถในการถ่ายทอดพันธุกรรม
  2. ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
  3. ความสามารถในการเสาะแสวงหาอาหารเพื่อการอยู่รอด
  4. ความเป็นอิสระในการดำรงชีพ

2. ในทางสังคมวิทยา มนุษย์จะมีสภาพเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด

  1. คลอดจากครรภ์มารดา
  2. เข้ามาเรียนรู้ในสังคมมนุษย์
  3. อยู่รอดและเติบโตขึ้น
  4. ข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา

3. แบบแผนพฤติกรรมใดแสดงถึงลักษณะเฉพาะของสังคมมนุษย์ที่แตกต่างจากสังคมสัตว์

  1. มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
  2. กำหนดโดยกรรมพันธุ์
  3. เกิดจากการสื่อความหมาย
  4. มีความเป็นระเบียบ

4. ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีบรรทัดฐานทางสังคมรวมกันเรียกว่าอะไร

  1. โครงสร้างสังคม
  2. แรงยึดเหนี่ยวทางสังคม
  3. องค์ประกอบทางสังคม
  4. สถาบันสังคม

5. ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของสถาบันทางสังคมได้ครบถ้วน

  1. พระพุทธรูป การสั่งสอนธรรมของพระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน การทำบุญตักบาตร
  2. ผู้บริหารการศึกษา การอบรมให้ความรู้ การสอบวัดผลนักเรียน
  3. นายจ้าง ลูกจ้าง บริษัท ราคาสินค้าตามที่รัฐบาลกำหนด
  4. รัฐบาล รัฐสภา ศาล การปฎิบัติตามกฎหมาย

6. เมื่อพิจารณาความเป็นจริงในทางปฏิบัติ ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดผิด

  1. ทุกสถานการณ์ มีสถานภาพ จะต้องมีบทบาทเสมอ
  2. บุคคลจะแสดงบทบาทของตนในสังคมแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
  3. บุคคลต้องแสดงบทบาทให้ถูกต้องตามแบบแผนของวัฒนธรรม
  4. บทบาทขัดกัน เกิดขึ้นได้กับบุคคลที่มีหลายสถานภาพ

7. บรรทัดฐานที่ใช้กันมากในสังคมดั้งเดิมขนาดเล็ก คือประเภทใด

  1. กฎหมายและวิถีชาวบ้าน
  2. วิถีชาวบ้านและจารีต
  3. เฉพาะจารีต
  4. เฉพาะวิถีชาวบ้าน

8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสังคมไทย

  1. เป็นสังคมเกษตรกรรม
  2. เป็นสังคมเจ้าขุนมูลนาย
  3. เป็นสังคมเมือง
  4. เป็นสังคมพุทธศาสนา

9. ก่อน พ.ศ. 2504 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยมีลักษณะเด่นต่างจากการเปลี่ยนแปลงสมัยหลัง ๆ อย่างไร

  1. การเปลี่ยนแปลงยังไม่มีแบบแผนแน่ชัด
  2. การเปลี่ยนแปลงไม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเลย
  3. พระมหากษัตริย์มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลง
  4. ไม่มีเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง

10. ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ความเชื่อข้อใดถูกต้องที่สุด

  1. มนุษย์เป็นผู้สร้างและทำลายโลก
  2. อาตมันและปรมาตมันเป็นสิ่งเดียวกัน
  3. มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นปรมาตมันได้เลย
  4. อาตมันต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏโดยไม่มีที่สิ้นสุด

11. ข้อใดแสดงว่ามยุรีเป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ

  1. มยุรีรับประทานอาหารมังสวิรัติเสมอ
  2. มยุรีขับรถด้วยความระมัดระวังเสมอ
  3. มยุรีทำบุญทำทานเสมอ
  4. มยุรีซื่อสัตย์กับสามีเสมอ

12. ตามทัศนะของศาสนาคริสต์ เหตุใดมนุษย์จึงมีลักษณะที่จะทำความชั่วได้

  1. เพราะมนุษย์มีบาปแต่กำเนิด
  2. เพราะมนุษย์มีจิตใจอ่อนแอ
  3. เพราะการทำดีต้องเกิดจากการข่มใจ
  4. เพราะมนุษย์มีเสรีภาพ

13. มุสลิมยอมรับว่าข้อใดเป็นความจริง

  1. พระมูฮัมหมัดสอนให้ศรัทธาในหินดำศักดิ์สิทธิ์
  2. พระมูฮัมหมัดเผยแพร่ศาสนาตามคำสั่งพระยะโฮวา
  3. พระมูฮัมหมัดไม่เคารพเทวรูปต่าง ๆ ก่อนเป็นศาสดา
  4. พระมูฮัมหมัดเผยแพร่ศาสนาตามโองการที่เทวทูตนำมาบอก

14. ข้อใดไม่ใช่คำสอนที่สอดคล้องกันในศาสนาฮินดู - พุทธ - คริสต์ - อิสลาม

  1. การเคารพและบูชาผู้มีพระคุณ
  2. ความอดทนและความกตัญญู
  3. การเสียสละหรือสังคมสงเคราะห์
  4. การพัฒนาตนเองและส่งเสริมสังคม

15. ถ้าเดินทางจากชายฝั่งแผ่นดินของรัฐ จะพบข้อใดต่อไปนี้ตามในลำดับหลังสุด

  1. เขตเศรษฐกิจจำเพาะ
  2. ทะเลหลวง
  3. ทะเลอาณาเขต
  4. น่านน้ำ

16. ประเทศที่ใช้การปกครองแบบสหพันธรัฐ รัฐบาลระดับมลรัฐ ไม่มี หน้าที่ข้อใด

  1. รักษาความสงบภายในมลรัฐของตน
  2. ดูแลการสาธารณสุขภายในมลรัฐ
  3. กำหนดนโยบายและออกคำสั่งทหารในมลรัฐตน
  4. ดูแลการศึกษาประชาชนในมลรัฐ

17. " หลักแห่งความเสมอภาค " ในระบอบประชาธิปไตย หมายถึงกรณีในข้อใด

  1. รัฐบาล ก. ออกกฎหมายห้ามชาวนาตัดไม้ทำลายป่า
  2. รัฐมนตรี ข. ขับรถชนคนบาดเจ็บแต่ไม่ผิดเพราะเป็นเหตุสุดวิสัย
  3. นาย ค. ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เพราะจบการศึกษาประถมปีที่หก
  4. นาย ง. เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่สูงกว่า นาย จ.

18. " คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน " เป็นพื้นฐานที่สำคัญของความเชื่อทางการเมืองในเรื่องใด

  1. การยอมรับความเหลื่อมล้ำในสังคม
  2. การรักษาความยุติธรรมในสังคม
  3. การรักษาความสงบเรียบร้อยในรัฐ
  4. การยอมรับความมีอำนาจสูงสุดของรัฐ

19. ข้อใดเป็นลักษณะของเผด็จการฟาสซิสต์ที่ต่างจากเผด็จการคอมมิวนิสต์

  1. พรรคการเมืองเป็นผู้นำทางการเมือง
  2. การยึดมั่นในลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรง
  3. การดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าว
  4. รัฐมีอำนาจเหนือประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ

20. งานกระทรวงต่างประเทศปัจจุบัน เดิมเป็นหน้าที่ของกรมใดในสมัยอยุธยา

  1. กรมเวียง
  2. กรมวัง
  3. กรมคลัง
  4. กรมนา

21. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5

  1. เป็นการปูพื้นฐานระบอบประชาธิปไตย
  2. เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
  3. เป็นการริเริ่มระบบราชการแบบใหม่
  4. เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่พระมหากษัตริย์
22. การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยสมัยเดิมเป็นไปได้อย่างสงบและมั่นคงเพราะ
  1. กษัตริย์ทรงปกครองประเทศด้วยคุณธรรม
  2. กษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา
  3. กษัตริย์ทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างมาก
  4. กษัตริย์ทรงออกเยี่ยมเยือนราษฎรเสมอ

23. เพราะเหตุใดการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 จึงประสบความสำเร็จ

  1. พระบรมวงศานุวงค์ที่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกควบคุมไว้เป็นตัวประกัน
  2. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนเสียเลือดเนื้อ
  3. คณะราษฎร์ได้ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทุกจุดทุกจังหวัด ยากที่จะต่อต้าน
  4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงประเทศเพื่อเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่ก่อนแล้ว

24. ที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า " ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ " หมายความว่า

  1. ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช
  2. ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว
  3. ประเทศไทยมีที่ดินที่ต่อเนื่องกันตลอด
  4. ประเทศไทยเป็นรัฐประชาธิปไตย

25. คุณสมบัติต่อไปนี้ข้อใดผิดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

  1. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ต้องสังกัดพรรค มีสัญชาติไทย อายุ 25 ปี ขึ้นไป
  2. ผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิกได้ ต้องไม่สังกัดพรรค มีสัญชาติไทย อายุ 40 ปีขึ้นไป
  3. บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ ต้องมีชื่อในบัญชีเขตเลือกตั้ง มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป
  4. ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

26. หลักการข้อใดมีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเที่ยงธรรม

  1. ศาลต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
  2. ศาลต้องพิจารณาพิพากษาคดีโดยดำเนินการตามคำแนะนำของรัฐบาล
  3. กฎหมายที่บัญญัติใช้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
  4. ผู้พิพากษามีอิสระในการพิพากษาคดี

27. พระราชบัญญัติและพระราชกำหนดมีความคล้ายกันในเรื่องใด

  1. เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
  2. เป็นระเบียบข้อบังคับใช้ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของประชาชน
  3. ก่อนที่จะประกาศใช้ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาก่อน
  4. เป็นกฎหมายที่มีลำดับความสำคัญเทียบได้กับประมวลกฎหมาย

28. นาย ก. ตกลงซื้อข้าวสารจากนาย ข. 100 กระสอบ เป็นเงิน 500,000 บาท ผู้ขายได้นำข้าวสารขึ้นรถให้ลูกจ้างขับรถมาเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่นาย ก. ระหว่างทาง ข้าวสารถูกอุทกภัยพัดหายไปกับกระแสน้ำ
ข้อใดถูกต้องตามกฎหมาย

  1. นาย ก. ต้องชำระหนี้แก่ผู้ขายห้าแสนบาท
  2. นาย ก. ต้องชำระหนี้แก่ผู้ขายสองแสนห้าหมื่นบาท
  3. นาย ก. ไม่ต้องชำระหนี้ค่าข้าวสารแก่ผู้ขาย
  4. นาย ก. ต้องชำระค่าข้าวสารและค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถคว่ำแก่ผู้ขาย

29. ลักษณะภูเขาในภาคตะวันออกส่วนมากเป็นภูเขารูปโดม เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น (ต.ค. 41)

  1. เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของน้ำทะเลในอดีต
  2. เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของฝน
  3. เนื่องจากหินฐานส่วนมากเป็นหินบะซอลท์
  4. เนื่องจากหินฐานส่วนมากเป็นหินแกรนิต

30. “ ลิ่มความกดอากาศสูงปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ” หมายความว่าอย่างไร

  1. มวลอากาศเย็นซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
  2. แนวปะทะอากาศเย็นซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
  3. มวลอากาศร้อนซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
  4. แนวปะทะอากาศร้อนซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย

31. วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรข้อใดไม่ถูกต้อง (เม.ย. 39)

  1. การปลูกพืชหมุนเวียนได้แก่การปลูกโสน แค กระถิน ถั่วเหลือง ต่อเนื่องกัน
  2. การใช้สิ่งอื่นแทน ได้แก่ การใช้พลาสติก ไม้อัด กระเบื้อง อลูมิเนียม
  3. การปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม ได้แก่ การยกร่อง การเติมอินทรีย์วัตถุให้ดิน
  4. การบูรณะ ได้แก่ การปลูกป่า การขุดบ่อพักน้ำ

32. ความร่วมมือของประชาชนในข้อใดน่าจะมีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด (มี.ค. 42)

  1. ลดการอุปโภคบริโภคให้น้อยลง
  2. กำจัดขยะด้วยตนเอง
  3. ปลูกป่าเพิ่มขึ้น
  4. ทำความสะอาดชุมชนของตนเอง

33. ดินบริเวณใดเหมาะในการใช้ปลูกพืชไร่มากที่สุด

  1. ที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมขัง ซากพืชทับถมเป็นชั้นหนา
  2. ชายฝั่งทะเลซึ่งมีเนินทรายและดินเป็นทราย
  3. บริเวณที่ห่างจากฝั่งแม่น้ำ เป็นดินตะกอนที่อายุมากขึ้น ถูกชะล้างแร่ธาตุไปบ้างแล้ว
  4. ภูเขาไม่สูงชัน มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ตามธรรมชาติ ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์

34. ไฟป่าในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด

  1. ป่าสนเขา
  2. ป่าเบญจพรรณ
  3. ป่าดิบแล้ง
  4. ป่าพรุ

35. ที่ตั้งของประเทศไทยก่อให้เกิดผลดีด้านใดต่อไปนี้

  1. ยุทธศาสตร์และการเมือง
  2. สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณี
  3. ภูมิอากาศและการคมนาคม
  4. ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์

36. ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงมากมาย ทำให้เกิดกลุ่มแม่น้ำขึ้น 3 กลุ่ม แล้วไหลลงสู่แม่น้ำสำคัญ 3 สายใน 3 ทิศทาง
แม่น้ำทั้ง 3 สายดังกล่าวคือแม่น้ำอะไร

  1. แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำเมย
  2. แม่น้ำเมย แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำโขง
  3. แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง
  4. แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำกก

37. เกาะภูเก็ตแยกตัวจากพื้นทวีปด้วยวิธีการเคลื่อนไหวแบบใดของแผ่นดิน

  1. การยกตัวของชายฝั่งทะเล
  2. การยุบจมตัวของฝั่งทะเล
  3. การคดโค้งโก่งงอของแผ่นดิน
  4. แรงอัดจากภูเขาไฟระเบิด

38. ถ้าใช้เกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศตามแบบของเคิปเปน ลักษณะภูมิอากาศแบบใดที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย

  1. อากาศชื้นสลับแล้ง ฝนปานกลาง มีฤดูฝนและฤดูแล้งชัดเจน พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง
  2. อากาศชื้น ฝนชุก อุณหภูมิสูงตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณเป็นป่าดงดิบ
  3. อากาศชื้น ฝนขึ้นกับลมมรสุม อุณหภูมิสูง มีฤดูแล้งสั้น พืชพรรณเป็นป่าดงดิบ
  4. อากาศชื้น อุณหภูมิปานกลาง ฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน

39. ปัญหาสำคัญในด้านน้ำซึ่งเป็นปัญหาร่วมของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกของไทยคือ

  1. น้ำเค็ม
  2. น้ำเสีย
  3. น้ำบาดาลมีรสเค็ม
  4. น้ำขาดแคลนในฤดูแล้ง

40. ข้อใดถูกต้องสำหรับทรัพยากรแร่และการนำมาใช้

  1. ดินขาวสลายตัวจากหินแกรนิตใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา
  2. ถ่านหินลิกไนต์สะสมอยู่ในแอ่งหินปูนใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
  3. แร่เกลือหินเกิดในหินชุดโคราชใช้ในอุตสาหกรรมฝ้าทนไฟ
  4. แร่รัตนชาติเกิดจากหินแกบโบรใช้เป็นเครื่องประดับ

41. ปัญหาจากอพยพเข้าย่อมต้องขึ้นกับปัจจัยดึงดูด ข้อใดนับว่าเป็นปัจจัยดึงดูดที่สำคัญที่ทำให้ประชากรภาคต่าง ๆ หลั่งไหลมาทำมาหากินบริเวณภาคกลางตอนล่าง

  1. มีการพัฒนาการค้า อุตสาหกรรม คมนาคม
  2. เป็นศูนย์กลางความเจริญทั้งทางด้านการเมืองและสังคม
  3. มีการชลประทานดี พื้นที่เป็นที่ราบ มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์
  4. มีความเจริญทางเทคโนโลยีสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ

42. ข้อใดไม่เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

  1. นายสุขกำลังตัดสินใจว่าจะปลูกข้าวโพดดีหรือปลูกถั่วลิสงดีในที่ดินของตน
  2. นายดีตัดสินใจไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าแทนการซื้อที่ร้านขายปลีกข้างบ้าน
  3. นายทองรับตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่กับบ้านแทนการเปิดร้านตัดเสื้อ
  4. นายแย้มตกลงขายส้มโอให้นายจอมเพราะไม่ต่อราคา

43. ในทางเศรษฐศาสตร์การผลิตเพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุดจะทำได้โดยวิธีใด

  1. เลือกใช้วัตถุดิบในประเทศแทนวัตถุดิบจากต่างประเทศ
  2. ลดการขจัดของเสียจากการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต
  3. ประหยัดการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้าจำนวนหนึ่ง
  4. ใช้แรงงานที่มีค่าแรงต่ำแทนการใช้เครื่องจักรที่มีราคาสูง

44. ข้อใดไม่ใช่เศรษฐศาสตร์จุลภาค

  1. ศึกษาพฤติกรรมของเจ้าของรถบรรทุกรับจ้างวิ่งระหว่างจังหวัด
  2. ศึกษาพฤติกรรมการนั่งรถยนต์รับจ้างของคนกรุงเทพมหานคร
  3. ศึกษาสภาวะและการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าหมวดอาหาร
  4. ศึกษาสภาวะการผลิตและตลาดข้าวเปลือกในประเทศ

45. นายแดงซื้อสินค้าจากโรงงานและนำมาขายที่ตลาด แสดงว่าเขาประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจในข้อใด

  1. การผลิต การบริโภค และการแลกเปลี่ยน
  2. การบริโภค การผลิต และการกระจายสินค้า
  3. การแลกเปลี่ยน การกระจายสินค้า และการบริโภค
  4. การกระจายสินค้า การแลกเปลี่ยน และการผลิต

46. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นปัจจัยการผลิตประเภททุนตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์

  1. เงินกู้จากสหกรณ์เกษตร
  2. คันไถที่ชาวนาทำขึ้นใช้เอง
  3. ชาวนาที่กำลังเรียนอาชีวะเกษตร
  4. นาที่พ่อแม่ยกให้ 30 ไร่

47. ธนบัตรที่ใช้ในประเทศไทยมีชนิดละ 500 บาท 100 บาท 50 บาท 20 บาท 10 บาท ราคาของกระดาษที่ใช้พิมพ์ธนบัตรแต่ละชนิดมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าที่กำหนดไว้บนธนบัตร แต่คนในสังคมก็ยังใช้เป็นเงินเพราะเหตุใด

  1. รัฐบาลได้พิมพ์ไว้บนธนบัตรทุกฉบับว่า " ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย "
  2. มีทองคำหนุนหลังเต็มมูลค่าของธนบัตรแต่ละชนิด
  3. ธนบัตรเหล่านี้จะมีค่าตามที่พิมพ์บนกระดาษตลอดไป
  4. ธนบัตรเหล่านี้สามารถนำไปชำระหนี้ในอนาคตได้

48. สินค้าข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นไปตามกฏของอุปทาน

  1. ภาพวาดล้ำค่าสมัยโบราณ
  2. รถยนต์ตามสมัยนิยม
  3. เครื่องใช้สำนักงานสมัยใหม่
  4. เครื่องสำอาง

49. ในตลาดแรงงาน ค่าแรงดุลยภาพเท่ากับ 110 บาทต่อวัน และปริมาณแรงงานดุลยภาพเท่ากับ 100,000 คน เมื่อรัฐบาลประกาศค่าแรงงานขั้นต่ำไว้ ณ 130 บาทต่อวัน โดยมีผลบังคับใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดผลอย่างไร

  1. อุปสงค์แรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000 คน
  2. อุปทานแรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000 คน
  3. อุปสงค์แรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้น้อยกว่า 100,000 คน
  4. อุปทานแรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้น้อยกว่า 100,000 คน

50. ถ้าในรอบปีหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของประเทศไทยมีมูลค่าเท่ากับ 500 ล้านบาท มีชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับรายได้ 50 ล้านบาท มีคนไทยไปทำงานในต่างประเทศได้รับรายได้ 30 ล้านบาท และมีค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ของประเทศเท่ากับ 10 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) เท่ากับเท่าใด

  1. 420 ล้านบาท
  2. 450 ล้านบาท
  3. 470 ล้านบาท
  4. 480 ล้านบาท

51. ถ้ารายได้ประชาชาติสูงขึ้น ในขณะที่ประชากรในประเทศมีจำนวนเท่าเดิม ข้อใดถูกต้อง

  1. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์มวลรวมเพิ่มขึ้น
  2. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และการกระจายรายได้ดีขึ้น
  3. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และคุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้น
  4. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงขึ้น

52. การขึ้นค่าเงินบาทจะเกิดผลอะไร

  1. ราคาสินค้าไทยที่ขายในต่างประเทศจะถูกลง
  2. ภาระในการชำระหนี้ต่างประเทศของไทยจะเพิ่มขึ้น
  3. คนไทยจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศน้อยลง
  4. ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเมื่อคิดเป็นเงินบาทจะลดลง

53. ข้อความใดถูกต้อง

  1. ประเทศที่ขาดดุลการค้า จะต้องขาดดุลการชำระเงินด้วย
  2. ประเทศที่ขาดดุลการชำระเงิน จะต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย
  3. ประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะมีดุลการชำระเงินเกินดุลได้ ถ้าดุลบัญชีทุนของประเทศนั้นเกินดุล
  4. ประเทศที่ขาดดุลการค้าจะมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลได้ ถ้าดุลบัญชีทุนของประเทศนั้นเกินดุล

54. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มทางการค้า

  1. การลดการแข่งขันทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน
  2. การลดการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
  3. การร่วมมือกันต่อรองเพื่อลดการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า
  4. การร่วมมือกันในการเลือกปฏิบัติทางการค้าและการชำระเงินระหว่างประเทศ

55. มาตรการใดช่วยลดอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ

  1. ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์
  2. ธนาคารพาณิชย์ซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย
  3. ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อหลักทรัพย์จากประชาชน
  4. รัฐบาลลดอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้บุคคลธรรมดา

56. แนวทางในการพัฒนาสู่ความเป็น NAIS ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสาขาใด

  1. การค้า อุตสาหกรรม บริการ
  2. เกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ
  3. การค้า การเกษตร บริการ
  4. เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า

57. คำอธิบายเกี่ยวกับมูลนาย – ไพร่ ข้อใดผิด

  1. ถ้าไพร่ทำผิดต่อมูลนาย จะถูกปรับตามศักดินาของมูลนาย
  2. ไพร่ไม่มีโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นมูลนายได้
  3. มูลนายไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
  4. มูลนายมีศักดินาสูงกว่า 400 ไร่ ส่วนไพร่ต่ำกว่า 400 ไร่

58. ให้ลำดับเวลาที่เกิดสิ่งต่อไปนี้จากก่อนไปหลัง

ก. "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ"
ข. พระไตรปิฎกฉบับทอง
ค. การจัดตั้งธรรมยุตินิกาย
ง. พระคลังสินค้า

  1. ข ก ง ค
  2. ก ง ค ข
  3. ข ก ค ง
  4. ก ง ข ค

59. ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่งที่ไทยตกลงกับอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าไทยมีรายได้แผ่นดินลดลง เป็นเพราะเหตุใด

  1. จีนซึ่งเป็นตลาดการค้าสำคัญของไทยเกิดสงครามกับต่างชาติ
  2. ไทยเก็บภาษีสินค้าขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 ของราคาสินค้าเท่านั้น
  3. ชาติตะวันตกส่งเรือมาค้าขายในจำนวนน้อยลงกว่าเดิม
  4. การค้ากับต่างชาติตกอยู่ในกำมือของชาวจีนเป็นส่วนใหญ่

60. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของปัญหาความล้มเหลวด้านการคลังของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งถึงช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

  1. ขาดอิสระในการจัดการด้านการคลังเกี่ยวกับต่างประเทศ
  2. รายจ่ายการขยายตัวของโครงสร้างระบบราชการเพิ่มขึ้นตลอด
  3. ปัญหาการเกษตรที่พึ่งพาธรรมชาติ
  4. การใช้นโยบายรัฐนิยมทางเศรษฐกิจ

61. เมื่อนายแดงพ้นจากความเป็นไพร่ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาระหลายอย่างสิ้นสุดลง ยกเว้นข้อใด

  1. หมดภาระการเข้าเวร
  2. หมดภาระการเสียส่วย
  3. หมดภาระรับใช้บ้านเมือง
  4. หมดภาระตามระบบอุปถัมภ์

62. การดำเนินนโยบายผูกพันกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนามก่อให้เกิดผลอะไร

  1. ความเจริญทางวัตถุและโอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชนเพิ่มขึ้น
  2. ธุรกิจในประเทศเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาสังคมลดลง
  3. ความเจริญทางด้านวัตถุเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาสังคมลดลง
  4. ธุรกิจในประเทศลดลงแต่วัฒนธรรมแบบไทยเจริญมากขึ้น

63. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงปฎิรูปโครงสร้างการปกครองอย่างขนานใหญ่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาคืออะไร

  1. การถูกมหาอำนาจตะวันตกบีบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
  2. ความสับสน ซ้ำซ้อน และไร้ประสิทธิภาพของระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์
  3. การเตรียมรับมือกับการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส
  4. การดึงอำนาจจากกลุ่มขุนนางเก่ามาขึ้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์

64. งานเขียนเรื่อง "พัทยา" ของดาวหาง จัดเป็นนวนิยายล้อการเมืองเรื่องแรก งานเขียนเล่มนี้ล้อการเมืองอะไรในยุคนั้น

  1. การที่รัฐบาลออกนโยบายรัฐนิยม
  2. การที่ประเทศไทยประกาศเข้าสงครามโลก
  3. การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจครั้งแรก
  4. การทดลองจัดตั้งดุสิตธานี

65. ญี่ปุ่นในโบราณรับอารยธรรมจากจีนมามาก แต่ญี่ปุ่นก็รอดพ้นจากการรุกรานจากจีนและชาติอื่น ๆ จนรักษาลักษณะเฉพาะของตนได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยข้อใดเป็นสำคัญ

  1. การยอมตกเป็นดินแดนอารักขาของจีน
  2. การเป็นมิตรไมตรีกับชาติตะวันตกมาเป็นเวลานาน
  3. การมีภูมิประเทศแยกจากพื้นทวีปใหญ่
  4. การผ่านการปฏิรูปประเทศสมัยเมจิ

66. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดในการปฏิวัติชาติของดร.ซุนยัดเซ็น

  1. ชาตินิยม
  2. เสมอภาค
  3. ทุนนิยม
  4. สังคมนิยม

67. ข้อใดไม่ถูกต้องเรื่องการเรียกร้องเอกราชของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  1. การเรียกร้องเอกราชเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
  2. การเรียกร้องเอกราชเกิดจากความรู้สึกชาตินิยม
  3. ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นสนับสนุนให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกร้องเอกราชจากประเทศเจ้าของอาณานิคม
  4. ญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาโดยตลอด

68. การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อย่างไร

  1. เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
  2. สังคมตะวันตกพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี
  3. ชนชั้นคนงานก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญเท่าเทียมชนชั้นกลาง
  4. นำสู่การปฏิรูปปรับปรุงสังคมและการใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ

69. การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในฝรั่งเศสทำให้เกิดหลักการใดอันเป็นที่ยกย่องทั่วไป

  1. ฎีกาเรียกร้องสิทธิ
  2. ระบบการคานอำนาจ
  3. ประกาศหลักสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
  4. เจตนารมณ์การอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด

70. ความก้าวหน้าของวิทยาการและวิทยาศาสตร์จะก่อให้เกิดเทคโนโลยีขึ้นได้เมื่อใด

  1. มนุษย์มีความสามารถในการใช้ความรู้เชิงปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
  2. มนุษย์มีความสามารถในการควบคุมการใช้ความรู้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและปลอดภัย
  3. มนุษย์มีความสามารถในการควบคุมการใช้ผลงานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
  4. มนุษย์มีความสามารถในการนำความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและการดำเนินชีวิต

71. การผลิตรถยนต์เป็นแบบอุตสาหกรรมเกิดจากผลงานของบุคคลใด

  1. แรมสัน อี โอลด์ส
  2. วิลเลียม เฮล
  3. ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์
  4. กูกลิเอลโม มาร์โคนี

72. ประเทศที่พัฒนาแล้วมักมีอัตราส่วนการใช้เทคโนโลยีการผลิตอะไรสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา

  1. รถแทรกเตอร์ ปุ๋ย การชลประทาน
  2. รถแทรกเตอร์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช
  3. รถแทรกเตอร์ การชลประทาน ยาปราบศัตรูพืช
  4. ปุ๋ย การชลประทาน ยาปราบศัตรูพืช

73. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาโดยตรงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี

  1. กระดาษและขวดมีอยู่เกลื่อนทางเท้าและถนนในกรุงเทพฯ
  2. ควันพิษบริเวณถนนสายสำคัญ ๆ ของกรุงเทพฯ
  3. เสียงดังบริเวณถนนสายสำคัญ ๆ ของกรุงเทพฯ
  4. ถุงพลาสติกมีมากมายในกองขยะทั่วกรุงเทพฯ

74. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในสังคมมนุษย์

  1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ชีวิตมนุษย์ยากลำบากขึ้น
  2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติได้
  3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อม
  4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกมนุษย์มาใช้เป็นเครื่องมือรับใช้อุดมการณ์ทางการเมือง

75. ข้อใดเป็นเครื่องที่ใช้บอกระดับความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

  1. งบประมาณที่ใช้ในการบริหารประเทศ
  2. จำนวนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
  3. มูลค่าสินค้าส่งออกของประเทศ
  4. การค้าเทคโนโลยีของประเทศ

76. กิจการใดต่อไปนี้แสดงถึงความผิดพลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย

  1. การสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ
  2. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
  3. การสร้างสิ่งที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าในสังคม
  4. การสร้างสิ่งที่ทำให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่

77. องค์การหรือนโยบายข้อใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการแบ่งผิว

  1. ลัทธิไซออนนิสม์ ในตะวันออกกลาง
  2. สมาคมคู คลักซ์ แคลน ในสหรัฐอเมริกา
  3. นโยบายออสเตรเลียขาวในออสเตรเลีย
  4. นโยบาย Aparthied ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้

78. ข้อใดจะเป็นสาเหตุที่สำคัญของความขัดแย้งระหว่างคนเมืองและคนชนบทในประเทศไทย

  1. การที่คนเมืองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าคนชนบทมาก
  2. การที่คนเมืองกดราคาผลผลิตของคนชนบทจนไม่คุ้มทุน
  3. การที่คนชนบทต้องเปลี่ยนอาชีพมาเป็นกรรมกรในเมือง
  4. การที่คนชนบทมีค่านิยมในการบริโภคสินค้าและบริการแบบคนเมือง

79. ในสมัยสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเคยลดงบประมาณทางทหารไปช่วงหนึ่ง แต่สมัยประธานาธิบดีท่านใดที่สหรัฐอเมริกากลับมาเพิ่มงบประมาณทหารและมุ่งเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต

  1. จิมมี่ คาร์เตอร์
  2. โรนัลต์ เรแกน
  3. จอร์จ บุช
  4. ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน

80. ถ้าศึกษาปัญหาประชากรของประเทศไทยในลักษณะของทุน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งทางเศรษฐศาสตร์ หมายความว่าศึกษาในด้านใด

  1. คุณภาพของประชากร
  2. โครงสร้างของประชากร
  3. อัตราการเพิ่มของประชากร
  4. การกระจายรายได้ของประชากร

เฉลย

1. 4 - ทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม 2. 2 3. 3 - เพราะแบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจาก “การเรียนรู้” (คือ เกิดจากการ “สื่อความหมาย” นั่นเอง) 4. 1 - “ความสัมพันธ์ทางสังคม” คือ “โครงสร้างสังคม” นั่นเอง 5. 1 - องค์ประกอบสำคัญของสถาบันคือ กลุ่มคน หน้าที่ แบบแผน และสัญลักษณ์ 6. 1 - ทั้งนี้เพราะบางสถานการณ์ มีสถานภาพแต่ไม่มีบทบาทก็ได้ เช่น รัฐบาลหุ่นเชิด ที่มีแต่ตำแหน่ง
แต่ไม่มีหน้าที่ปฏิบัติจริง 7.
2 - ชุมชนขนาดเล็กดั้งเดิมมักใช้ “วิถีชาวบ้าน” และ “จารีต” 8. 3 - ทั้งนี้เพราะสังคมไทยเป็นสังคมชนบท 9. 1 - หลังจากปี พ.ศ. 2504 เราเริ่มมี “แผน” พัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน 10. 2 - ข้อ 1 ที่ถูกคือ “พระเจ้า” สร้างและทำลายโลก - ข้อ 3 มนุษย์มองเห็นปรมาตมันได้ด้วย “ญาณ” - ข้อ 4 ถ้า “อาตมัน” ถึง “โมกษะ” ก็ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก 11. 4 - สัมมากัมมันตะ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย และไม่ผิดในกาม 12. 2 13. 4 14. 1 - เพราะอิสลามห้าม “บูชา” สิ่งอื่นนอกจากพระอัลลอฮ 15. 2 - ทะเลหลวง คือ ทะเลที่ไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของเลย 16. 3 - “การกำหนดนโยบายและออกกำลังทหาร” เป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง 17. 2 - ที่รัฐมนตรี ข ไม่ผิด “ไม่ใช่เพราะเป็นรัฐมนตรี”
แต่ “เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย” ซึ่งไม่ว่าใครก็ถือว่าไม่ผิดเหมือนกัน 18.
4 - ข้อ 1 เป็นความเชื่อทางสังคม แต่เขาถามความเชื่อทางการเมือง ข้อ 1 เลยผิด - คนเราไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เรายอมรับว่ามีบางคนมีอำนาจกว่าเราทำให้ยอมรับ
“ความมีอำนาจสูงสุดของรัฐ” ข้อ 4 จึงถูกต้อง 19.
2 - จุดแตกต่างของฟาสซิสต์ที่ไม่เหมือนคอมมิวนิสต์ คือ ฟาสซิสต์เป็นพวก “ชาตินิยม” 20. 3 - งานของกระทรวงต่างประเทศเดิมสังกัด “กรมท่า” ซึ่งเป็นหน่วยงานใน “กรมคลัง” 21. 1 - “ประชาธิปไตย” ไม่ใช่จุดเด่นสมัยรัชกาลที่ 5 แต่เป็นจุดเด่นสมัยรัชกาลที่ 7 22. 1 23. 4 24. 2 - รัฐเดี่ยว คือรัฐมีอำนาจอธิปไตยเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งแยก 25. 4 - ประธานรัฐสภาปัจจุบัน คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภาปัจจุบัน คือประธานวุฒิสภา 26. 4 27. 2 - ทั้งนี้ทั้งพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนดต่างก็เป็น “กฎหมาย” ที่ออกมาบังคับประชาชน 28. 1 - ตามหลักที่ว่า “ของจะตกเป็นของคนซื้อ นับตั้งแต่มีการตกลงตรงกัน”
ลูกหนี้จึงมีภาระต้องชำระหนี้ทั้ง 500,000 บาทนั้น 29.
4 - หินแกรนิต ไม่โดนน้ำกัด จึงมียอดเขาเป็นโดม เหมือนดังเดิม 30. 1 - ความกดอากาศสูง = อุณหภูมิต่ำ และความกดอากาศ หมายถึงน้ำหนักของอากาศ ข้อ 1 จึงถูกต้อง 31. 1 - เพราะการปลูกหมุนเวียนต้อง “ปลูกหมุนเวียน” ไม่ใช่ปลูกต่อเนื่อง 32. 1 - ถ้าทำข้อ 1 ได้ก็เท่ากับอนุรักษ์ทรัพยากรหลากหลายมากมาย ข้อ 3 จึงเป็นการแค่อนุรักษ์ “ป่า” เท่านั้น 33. 3 - พืชไร่จะขึ้นได้ดีใน “ที่ดอน” หรือ “ลานตะพักลำน้ำ” 34. 2 - ไฟป่าจะเกิดในป่าผลัดใบ เช่น ป่าเบญจพรรณ 35. 3 - ไทยมีอากาศไม่ร้อนมาก มีมรสุมผ่าน และเป็นศูนย์กลางของเอเชียอาคเนย์ 36. 3 37. 2 - ภูเก็ต อยู่ทางอันดามัน ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน 38. 1 - อากาศส่วนใหญ่ของไทยเป็นแบบ Aw ซึ่งก็คือข้อ 1 นั่นเอง 39. 4 - การขาดน้ำในฤดูแล้งนับเป็นปัญหาของหลาย ๆ ภาคของไทย 40. 1 41. 3 - เพราะเค้าถาม “ภาคกลางตอนล่าง” ซึ่งหมายถึง “ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ” ข้อ 3 จึงถูกต้อง 42. 4 - ข้อ 1, 2, 3 มีปัญหาเศรษฐกิจที่ต้อง “ตัดสินใจเลือก” 43. 4 - หลักในการทำกำไร คือ ใช้ต้นทุนที่ต่ำสุด - ข้อ 1 ไม่รู้ว่า วัตถุดิบในประเทศหรือต่างประเทศถูกกว่า - ข้อ 2 ที่ถูกต้อง ต้องตัดคำว่า “ลด” ออก - ข้อ 3 ประหยัดปัจจัยการผลิตจำนวนหนึ่ง? ทำไมประหยัดแค่ “จำนวนหนึ่ง” 44. 3 - ข้อ 3 เป็นการศึกษาราคาสินค้า “หมวดอาหาร” ซึ่งเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาค 45. 4 - ซื้อมาขาย = กระจายสินค้า แลกเปลี่ยน และผลิต(โดยเปลี่ยนสถานที่) 46. 1 - ทุนในทางเศรษฐศาสตร์ไม่รวม “เงิน” 47. 1 48. 1 - กฎอุปทาน พูดว่า ยิ่งของแพง คนยิ่งอยากขายมาก แต่ของโบราณ ยิ่งแพง คนยิ่งไม่อยากขาย 49. 4 - ราคา 130 บาท แพงกว่าดุลยภาพ ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานน้อยลง 50. 4 GPA = GDP + รายได้ที่คนไทยไปทำที่ต่างประเทศ – รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในเมืองไทย
= 500 + 30 – 50 = 480 ล้านบาท 51.
1 - รายได้ประชาชาติสูง แต่คนเท่าเดิม จะทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น - รายได้ประชาชาติสูงขึ้น ก็หมายถึง “ผลิตภัณฑ์มวลรวม” เพิ่มขึ้น 52. 4 - เพราะค่าเงินบาทใหญ่ขึ้น เมื่อคิดทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินไทยจึงลดลง 53. 3 - ดุลชำระเงิน = ดุลบัญชีเดินสะพัด + ทุนเคลื่อนย้าย ดังนั้น ถ้าดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล
ดุลชำระเงินจะเกินดุลได้ ก็ต่อเมื่อบัญชีทุนเกินดุลนั่นเอง 54.
4 - เพราะการรวมกลุ่มเพื่อการค้า ไม่ได้รวมถึง “การชำระเงิน ระหว่างประเทศ 55. 2 - อุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ หมายถึง ความต้องการซื้อในตลาดรวม - ถ้าธนาคารพาณิชย์ซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินปล่อยกู้
ในระบบน้อยลงทำให้ความต้องการซื้อในตลาดรวมลดลง 56.
2 - เพราะ NAIS คือ Newly agriculture industrial and service countries 57. 2 - ไพร่เลื่อนฐานะได้โดยการบวชเรียน 58. 4 - เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ เกิดสมัยสุโขมัย - พระคลังสินค้า เกิดสมัยอยุธยา - พระไตรปิฎกฉบับทอง เกิดสมัยรัชกาลที่ 1 - การจัดตั้งธรรมยุตินิกาย เกิดสมัยรัชกาลที่ 3 59. 2 60. 4 - นโยบายรัฐนิยม เกิดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ได้เกิดสมัยรัชกาลที่ 6 61. 3 - เพราะทุกคนไม่ว่าเป็นใครก็ต้องมีภาระรับใช้บ้านเมืองทั้งนั้น 62. 1 63. 3 64. 1 - “พัทยา” เป็นเรื่องสั้นล้อการเมืองแบบ “รัฐนิยม” สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 65. 3 66. 3 67. 4 - ช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถูกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จับได้ว่าไม่จริงใจ จึงถูกต่อต้าน 68. 1 - ข้อ 1 กล่าวได้ครอบคลุมทุกประเด็นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 69. 3 70. 1 - เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ 71. 1 72. 2 73. 1 - ข้อ 1 เกิดจากการที่คนมักง่ายทิ้งจนบ้านเมืองสกปรก 74. 1 - วิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยีทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสะบายขึ้น ไม่ใช่ลำบากขึ้น 75. 4 - ดัชนีเครื่องบอกความก้าวหน้าเทคโนโลยีของชาติ อย่างหนึ่งคือ “การค้าเทคโนโลยีของประเทศ” 76. 3 - การสร้างสิ่งที่แสดงความเจริญก้าวหน้าในสังคม เป็นเพียงการสร้างเปลือกนอก
ไม่ได้เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ถูกต้อง 77.
1 - ไซออนนิสม์ เป็นขบวนการนำคนยิวกลับดินแดนคานาอัน หรืออิสราเอลในปัจจุบัน
ไม่ได้เกี่ยวกับการแบ่งผิว 78.
4 - คนชนบทมีค่านิยมฟุ่มเฟือยเหมือนคนในเมือง ทำให้เกิดการเรียกร้องค่าแรงและค่าจ้างกัน
จนเป็นปัญหาระหว่างคนเมืองกับคนชนบท 79.
2 80. 1 - “ทุน” คือสิ่งที่เราใช้ไปในการผลิตสินค้า ในบรรดาองค์ประกอบของประชากร
เราใช้ “คุณภาพ” ประชากรไปผลิตสินค้า ข้อ 1 จึงถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น: