1. มนุษย์และสัตว์มีความเหมือนกันอยู่หลายข้อ ยกเว้นข้อใด - ความสามารถในการถ่ายทอดพันธุกรรม
- ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
- ความสามารถในการเสาะแสวงหาอาหารเพื่อการอยู่รอด
- ความเป็นอิสระในการดำรงชีพ
2. ในทางสังคมวิทยา มนุษย์จะมีสภาพเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ตั้งแต่เมื่อใด - คลอดจากครรภ์มารดา
- เข้ามาเรียนรู้ในสังคมมนุษย์
- อยู่รอดและเติบโตขึ้น
- ข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา
3. แบบแผนพฤติกรรมใดแสดงถึงลักษณะเฉพาะของสังคมมนุษย์ที่แตกต่างจากสังคมสัตว์ - มีการเปลี่ยนแปลงน้อย
- กำหนดโดยกรรมพันธุ์
- เกิดจากการสื่อความหมาย
- มีความเป็นระเบียบ
4. ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีบรรทัดฐานทางสังคมรวมกันเรียกว่าอะไร - โครงสร้างสังคม
- แรงยึดเหนี่ยวทางสังคม
- องค์ประกอบทางสังคม
- สถาบันสังคม
5. ข้อใดกล่าวถึงองค์ประกอบของสถาบันทางสังคมได้ครบถ้วน - พระพุทธรูป การสั่งสอนธรรมของพระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน การทำบุญตักบาตร
- ผู้บริหารการศึกษา การอบรมให้ความรู้ การสอบวัดผลนักเรียน
- นายจ้าง ลูกจ้าง บริษัท ราคาสินค้าตามที่รัฐบาลกำหนด
- รัฐบาล รัฐสภา ศาล การปฎิบัติตามกฎหมาย
6. เมื่อพิจารณาความเป็นจริงในทางปฏิบัติ ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดผิด - ทุกสถานการณ์ มีสถานภาพ จะต้องมีบทบาทเสมอ
- บุคคลจะแสดงบทบาทของตนในสังคมแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
- บุคคลต้องแสดงบทบาทให้ถูกต้องตามแบบแผนของวัฒนธรรม
- บทบาทขัดกัน เกิดขึ้นได้กับบุคคลที่มีหลายสถานภาพ
7. บรรทัดฐานที่ใช้กันมากในสังคมดั้งเดิมขนาดเล็ก คือประเภทใด - กฎหมายและวิถีชาวบ้าน
- วิถีชาวบ้านและจารีต
- เฉพาะจารีต
- เฉพาะวิถีชาวบ้าน
8. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสังคมไทย - เป็นสังคมเกษตรกรรม
- เป็นสังคมเจ้าขุนมูลนาย
- เป็นสังคมเมือง
- เป็นสังคมพุทธศาสนา
9. ก่อน พ.ศ. 2504 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยมีลักษณะเด่นต่างจากการเปลี่ยนแปลงสมัยหลัง ๆ อย่างไร - การเปลี่ยนแปลงยังไม่มีแบบแผนแน่ชัด
- การเปลี่ยนแปลงไม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเลย
- พระมหากษัตริย์มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลง
- ไม่มีเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง
10. ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ความเชื่อข้อใดถูกต้องที่สุด - มนุษย์เป็นผู้สร้างและทำลายโลก
- อาตมันและปรมาตมันเป็นสิ่งเดียวกัน
- มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นปรมาตมันได้เลย
- อาตมันต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏโดยไม่มีที่สิ้นสุด
11. ข้อใดแสดงว่ามยุรีเป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ - มยุรีรับประทานอาหารมังสวิรัติเสมอ
- มยุรีขับรถด้วยความระมัดระวังเสมอ
- มยุรีทำบุญทำทานเสมอ
- มยุรีซื่อสัตย์กับสามีเสมอ
12. ตามทัศนะของศาสนาคริสต์ เหตุใดมนุษย์จึงมีลักษณะที่จะทำความชั่วได้ - เพราะมนุษย์มีบาปแต่กำเนิด
- เพราะมนุษย์มีจิตใจอ่อนแอ
- เพราะการทำดีต้องเกิดจากการข่มใจ
- เพราะมนุษย์มีเสรีภาพ
13. มุสลิมยอมรับว่าข้อใดเป็นความจริง - พระมูฮัมหมัดสอนให้ศรัทธาในหินดำศักดิ์สิทธิ์
- พระมูฮัมหมัดเผยแพร่ศาสนาตามคำสั่งพระยะโฮวา
- พระมูฮัมหมัดไม่เคารพเทวรูปต่าง ๆ ก่อนเป็นศาสดา
- พระมูฮัมหมัดเผยแพร่ศาสนาตามโองการที่เทวทูตนำมาบอก
14. ข้อใดไม่ใช่คำสอนที่สอดคล้องกันในศาสนาฮินดู - พุทธ - คริสต์ - อิสลาม - การเคารพและบูชาผู้มีพระคุณ
- ความอดทนและความกตัญญู
- การเสียสละหรือสังคมสงเคราะห์
- การพัฒนาตนเองและส่งเสริมสังคม
15. ถ้าเดินทางจากชายฝั่งแผ่นดินของรัฐ จะพบข้อใดต่อไปนี้ตามในลำดับหลังสุด - เขตเศรษฐกิจจำเพาะ
- ทะเลหลวง
- ทะเลอาณาเขต
- น่านน้ำ
16. ประเทศที่ใช้การปกครองแบบสหพันธรัฐ รัฐบาลระดับมลรัฐ ไม่มี หน้าที่ข้อใด - รักษาความสงบภายในมลรัฐของตน
- ดูแลการสาธารณสุขภายในมลรัฐ
- กำหนดนโยบายและออกคำสั่งทหารในมลรัฐตน
- ดูแลการศึกษาประชาชนในมลรัฐ
17. " หลักแห่งความเสมอภาค " ในระบอบประชาธิปไตย หมายถึงกรณีในข้อใด - รัฐบาล ก. ออกกฎหมายห้ามชาวนาตัดไม้ทำลายป่า
- รัฐมนตรี ข. ขับรถชนคนบาดเจ็บแต่ไม่ผิดเพราะเป็นเหตุสุดวิสัย
- นาย ค. ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เพราะจบการศึกษาประถมปีที่หก
- นาย ง. เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่สูงกว่า นาย จ.
18. " คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน " เป็นพื้นฐานที่สำคัญของความเชื่อทางการเมืองในเรื่องใด - การยอมรับความเหลื่อมล้ำในสังคม
- การรักษาความยุติธรรมในสังคม
- การรักษาความสงบเรียบร้อยในรัฐ
- การยอมรับความมีอำนาจสูงสุดของรัฐ
19. ข้อใดเป็นลักษณะของเผด็จการฟาสซิสต์ที่ต่างจากเผด็จการคอมมิวนิสต์ - พรรคการเมืองเป็นผู้นำทางการเมือง
- การยึดมั่นในลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรง
- การดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าว
- รัฐมีอำนาจเหนือประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ
20. งานกระทรวงต่างประเทศปัจจุบัน เดิมเป็นหน้าที่ของกรมใดในสมัยอยุธยา - กรมเวียง
- กรมวัง
- กรมคลัง
- กรมนา
21. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 - เป็นการปูพื้นฐานระบอบประชาธิปไตย
- เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
- เป็นการริเริ่มระบบราชการแบบใหม่
- เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่พระมหากษัตริย์
22. การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยสมัยเดิมเป็นไปได้อย่างสงบและมั่นคงเพราะ- กษัตริย์ทรงปกครองประเทศด้วยคุณธรรม
- กษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา
- กษัตริย์ทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างมาก
- กษัตริย์ทรงออกเยี่ยมเยือนราษฎรเสมอ
23. เพราะเหตุใดการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 จึงประสบความสำเร็จ - พระบรมวงศานุวงค์ที่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกควบคุมไว้เป็นตัวประกัน
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนเสียเลือดเนื้อ
- คณะราษฎร์ได้ควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ทุกจุดทุกจังหวัด ยากที่จะต่อต้าน
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงประเทศเพื่อเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่ก่อนแล้ว
24. ที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่า " ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ " หมายความว่า - ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช
- ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว
- ประเทศไทยมีที่ดินที่ต่อเนื่องกันตลอด
- ประเทศไทยเป็นรัฐประชาธิปไตย
25. คุณสมบัติต่อไปนี้ข้อใดผิดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน - ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ต้องสังกัดพรรค มีสัญชาติไทย อายุ 25 ปี ขึ้นไป
- ผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นวุฒิสมาชิกได้ ต้องไม่สังกัดพรรค มีสัญชาติไทย อายุ 40 ปีขึ้นไป
- บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ ต้องมีชื่อในบัญชีเขตเลือกตั้ง มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
26. หลักการข้อใดมีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเที่ยงธรรม - ศาลต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
- ศาลต้องพิจารณาพิพากษาคดีโดยดำเนินการตามคำแนะนำของรัฐบาล
- กฎหมายที่บัญญัติใช้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
- ผู้พิพากษามีอิสระในการพิพากษาคดี
27. พระราชบัญญัติและพระราชกำหนดมีความคล้ายกันในเรื่องใด - เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
- เป็นระเบียบข้อบังคับใช้ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของประชาชน
- ก่อนที่จะประกาศใช้ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาก่อน
- เป็นกฎหมายที่มีลำดับความสำคัญเทียบได้กับประมวลกฎหมาย
28. นาย ก. ตกลงซื้อข้าวสารจากนาย ข. 100 กระสอบ เป็นเงิน 500,000 บาท ผู้ขายได้นำข้าวสารขึ้นรถให้ลูกจ้างขับรถมาเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่นาย ก. ระหว่างทาง ข้าวสารถูกอุทกภัยพัดหายไปกับกระแสน้ำ ข้อใดถูกต้องตามกฎหมาย - นาย ก. ต้องชำระหนี้แก่ผู้ขายห้าแสนบาท
- นาย ก. ต้องชำระหนี้แก่ผู้ขายสองแสนห้าหมื่นบาท
- นาย ก. ไม่ต้องชำระหนี้ค่าข้าวสารแก่ผู้ขาย
- นาย ก. ต้องชำระค่าข้าวสารและค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถคว่ำแก่ผู้ขาย
29. ลักษณะภูเขาในภาคตะวันออกส่วนมากเป็นภูเขารูปโดม เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น (ต.ค. 41) - เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของน้ำทะเลในอดีต
- เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของฝน
- เนื่องจากหินฐานส่วนมากเป็นหินบะซอลท์
- เนื่องจากหินฐานส่วนมากเป็นหินแกรนิต
30. “ ลิ่มความกดอากาศสูงปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ” หมายความว่าอย่างไร - มวลอากาศเย็นซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
- แนวปะทะอากาศเย็นซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
- มวลอากาศร้อนซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
- แนวปะทะอากาศร้อนซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปลิ่มปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย
31. วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรข้อใดไม่ถูกต้อง (เม.ย. 39) - การปลูกพืชหมุนเวียนได้แก่การปลูกโสน แค กระถิน ถั่วเหลือง ต่อเนื่องกัน
- การใช้สิ่งอื่นแทน ได้แก่ การใช้พลาสติก ไม้อัด กระเบื้อง อลูมิเนียม
- การปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม ได้แก่ การยกร่อง การเติมอินทรีย์วัตถุให้ดิน
- การบูรณะ ได้แก่ การปลูกป่า การขุดบ่อพักน้ำ
32. ความร่วมมือของประชาชนในข้อใดน่าจะมีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด (มี.ค. 42) - ลดการอุปโภคบริโภคให้น้อยลง
- กำจัดขยะด้วยตนเอง
- ปลูกป่าเพิ่มขึ้น
- ทำความสะอาดชุมชนของตนเอง
33. ดินบริเวณใดเหมาะในการใช้ปลูกพืชไร่มากที่สุด - ที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมขัง ซากพืชทับถมเป็นชั้นหนา
- ชายฝั่งทะเลซึ่งมีเนินทรายและดินเป็นทราย
- บริเวณที่ห่างจากฝั่งแม่น้ำ เป็นดินตะกอนที่อายุมากขึ้น ถูกชะล้างแร่ธาตุไปบ้างแล้ว
- ภูเขาไม่สูงชัน มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ตามธรรมชาติ ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
34. ไฟป่าในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด - ป่าสนเขา
- ป่าเบญจพรรณ
- ป่าดิบแล้ง
- ป่าพรุ
35. ที่ตั้งของประเทศไทยก่อให้เกิดผลดีด้านใดต่อไปนี้ - ยุทธศาสตร์และการเมือง
- สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณี
- ภูมิอากาศและการคมนาคม
- ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์
36. ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงมากมาย ทำให้เกิดกลุ่มแม่น้ำขึ้น 3 กลุ่ม แล้วไหลลงสู่แม่น้ำสำคัญ 3 สายใน 3 ทิศทาง แม่น้ำทั้ง 3 สายดังกล่าวคือแม่น้ำอะไร - แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำเมย
- แม่น้ำเมย แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำโขง
- แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง
- แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำกก
37. เกาะภูเก็ตแยกตัวจากพื้นทวีปด้วยวิธีการเคลื่อนไหวแบบใดของแผ่นดิน - การยกตัวของชายฝั่งทะเล
- การยุบจมตัวของฝั่งทะเล
- การคดโค้งโก่งงอของแผ่นดิน
- แรงอัดจากภูเขาไฟระเบิด
38. ถ้าใช้เกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศตามแบบของเคิปเปน ลักษณะภูมิอากาศแบบใดที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย - อากาศชื้นสลับแล้ง ฝนปานกลาง มีฤดูฝนและฤดูแล้งชัดเจน พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง
- อากาศชื้น ฝนชุก อุณหภูมิสูงตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณเป็นป่าดงดิบ
- อากาศชื้น ฝนขึ้นกับลมมรสุม อุณหภูมิสูง มีฤดูแล้งสั้น พืชพรรณเป็นป่าดงดิบ
- อากาศชื้น อุณหภูมิปานกลาง ฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน
39. ปัญหาสำคัญในด้านน้ำซึ่งเป็นปัญหาร่วมของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกของไทยคือ - น้ำเค็ม
- น้ำเสีย
- น้ำบาดาลมีรสเค็ม
- น้ำขาดแคลนในฤดูแล้ง
40. ข้อใดถูกต้องสำหรับทรัพยากรแร่และการนำมาใช้ - ดินขาวสลายตัวจากหินแกรนิตใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา
- ถ่านหินลิกไนต์สะสมอยู่ในแอ่งหินปูนใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
- แร่เกลือหินเกิดในหินชุดโคราชใช้ในอุตสาหกรรมฝ้าทนไฟ
- แร่รัตนชาติเกิดจากหินแกบโบรใช้เป็นเครื่องประดับ
41. ปัญหาจากอพยพเข้าย่อมต้องขึ้นกับปัจจัยดึงดูด ข้อใดนับว่าเป็นปัจจัยดึงดูดที่สำคัญที่ทำให้ประชากรภาคต่าง ๆ หลั่งไหลมาทำมาหากินบริเวณภาคกลางตอนล่าง - มีการพัฒนาการค้า อุตสาหกรรม คมนาคม
- เป็นศูนย์กลางความเจริญทั้งทางด้านการเมืองและสังคม
- มีการชลประทานดี พื้นที่เป็นที่ราบ มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์
- มีความเจริญทางเทคโนโลยีสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ
42. ข้อใดไม่เกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ - นายสุขกำลังตัดสินใจว่าจะปลูกข้าวโพดดีหรือปลูกถั่วลิสงดีในที่ดินของตน
- นายดีตัดสินใจไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าแทนการซื้อที่ร้านขายปลีกข้างบ้าน
- นายทองรับตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่กับบ้านแทนการเปิดร้านตัดเสื้อ
- นายแย้มตกลงขายส้มโอให้นายจอมเพราะไม่ต่อราคา
43. ในทางเศรษฐศาสตร์การผลิตเพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุดจะทำได้โดยวิธีใด - เลือกใช้วัตถุดิบในประเทศแทนวัตถุดิบจากต่างประเทศ
- ลดการขจัดของเสียจากการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ประหยัดการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้าจำนวนหนึ่ง
- ใช้แรงงานที่มีค่าแรงต่ำแทนการใช้เครื่องจักรที่มีราคาสูง
44. ข้อใดไม่ใช่เศรษฐศาสตร์จุลภาค - ศึกษาพฤติกรรมของเจ้าของรถบรรทุกรับจ้างวิ่งระหว่างจังหวัด
- ศึกษาพฤติกรรมการนั่งรถยนต์รับจ้างของคนกรุงเทพมหานคร
- ศึกษาสภาวะและการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าหมวดอาหาร
- ศึกษาสภาวะการผลิตและตลาดข้าวเปลือกในประเทศ
45. นายแดงซื้อสินค้าจากโรงงานและนำมาขายที่ตลาด แสดงว่าเขาประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจในข้อใด - การผลิต การบริโภค และการแลกเปลี่ยน
- การบริโภค การผลิต และการกระจายสินค้า
- การแลกเปลี่ยน การกระจายสินค้า และการบริโภค
- การกระจายสินค้า การแลกเปลี่ยน และการผลิต
46. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นปัจจัยการผลิตประเภททุนตามความหมายทางเศรษฐศาสตร์ - เงินกู้จากสหกรณ์เกษตร
- คันไถที่ชาวนาทำขึ้นใช้เอง
- ชาวนาที่กำลังเรียนอาชีวะเกษตร
- นาที่พ่อแม่ยกให้ 30 ไร่
47. ธนบัตรที่ใช้ในประเทศไทยมีชนิดละ 500 บาท 100 บาท 50 บาท 20 บาท 10 บาท ราคาของกระดาษที่ใช้พิมพ์ธนบัตรแต่ละชนิดมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าที่กำหนดไว้บนธนบัตร แต่คนในสังคมก็ยังใช้เป็นเงินเพราะเหตุใด - รัฐบาลได้พิมพ์ไว้บนธนบัตรทุกฉบับว่า " ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย "
- มีทองคำหนุนหลังเต็มมูลค่าของธนบัตรแต่ละชนิด
- ธนบัตรเหล่านี้จะมีค่าตามที่พิมพ์บนกระดาษตลอดไป
- ธนบัตรเหล่านี้สามารถนำไปชำระหนี้ในอนาคตได้
48. สินค้าข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นไปตามกฏของอุปทาน - ภาพวาดล้ำค่าสมัยโบราณ
- รถยนต์ตามสมัยนิยม
- เครื่องใช้สำนักงานสมัยใหม่
- เครื่องสำอาง
49. ในตลาดแรงงาน ค่าแรงดุลยภาพเท่ากับ 110 บาทต่อวัน และปริมาณแรงงานดุลยภาพเท่ากับ 100,000 คน เมื่อรัฐบาลประกาศค่าแรงงานขั้นต่ำไว้ ณ 130 บาทต่อวัน โดยมีผลบังคับใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดผลอย่างไร - อุปสงค์แรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000 คน
- อุปทานแรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้มากกว่า 100,000 คน
- อุปสงค์แรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้น้อยกว่า 100,000 คน
- อุปทานแรงงานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานได้น้อยกว่า 100,000 คน
50. ถ้าในรอบปีหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของประเทศไทยมีมูลค่าเท่ากับ 500 ล้านบาท มีชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับรายได้ 50 ล้านบาท มีคนไทยไปทำงานในต่างประเทศได้รับรายได้ 30 ล้านบาท และมีค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ของประเทศเท่ากับ 10 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) เท่ากับเท่าใด - 420 ล้านบาท
- 450 ล้านบาท
- 470 ล้านบาท
- 480 ล้านบาท
51. ถ้ารายได้ประชาชาติสูงขึ้น ในขณะที่ประชากรในประเทศมีจำนวนเท่าเดิม ข้อใดถูกต้อง - รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์มวลรวมเพิ่มขึ้น
- รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และการกระจายรายได้ดีขึ้น
- รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และคุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้น
- รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น และระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงขึ้น
52. การขึ้นค่าเงินบาทจะเกิดผลอะไร - ราคาสินค้าไทยที่ขายในต่างประเทศจะถูกลง
- ภาระในการชำระหนี้ต่างประเทศของไทยจะเพิ่มขึ้น
- คนไทยจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศน้อยลง
- ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเมื่อคิดเป็นเงินบาทจะลดลง
53. ข้อความใดถูกต้อง - ประเทศที่ขาดดุลการค้า จะต้องขาดดุลการชำระเงินด้วย
- ประเทศที่ขาดดุลการชำระเงิน จะต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย
- ประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะมีดุลการชำระเงินเกินดุลได้ ถ้าดุลบัญชีทุนของประเทศนั้นเกินดุล
- ประเทศที่ขาดดุลการค้าจะมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลได้ ถ้าดุลบัญชีทุนของประเทศนั้นเกินดุล
54. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มทางการค้า - การลดการแข่งขันทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน
- การลดการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
- การร่วมมือกันต่อรองเพื่อลดการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า
- การร่วมมือกันในการเลือกปฏิบัติทางการค้าและการชำระเงินระหว่างประเทศ
55. มาตรการใดช่วยลดอุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ - ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารพาณิชย์ซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อหลักทรัพย์จากประชาชน
- รัฐบาลลดอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้บุคคลธรรมดา
56. แนวทางในการพัฒนาสู่ความเป็น NAIS ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสาขาใด - การค้า อุตสาหกรรม บริการ
- เกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ
- การค้า การเกษตร บริการ
- เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า
57. คำอธิบายเกี่ยวกับมูลนาย – ไพร่ ข้อใดผิด - ถ้าไพร่ทำผิดต่อมูลนาย จะถูกปรับตามศักดินาของมูลนาย
- ไพร่ไม่มีโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นมูลนายได้
- มูลนายไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
- มูลนายมีศักดินาสูงกว่า 400 ไร่ ส่วนไพร่ต่ำกว่า 400 ไร่
58. ให้ลำดับเวลาที่เกิดสิ่งต่อไปนี้จากก่อนไปหลัง ก. "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ" ข. พระไตรปิฎกฉบับทอง ค. การจัดตั้งธรรมยุตินิกาย ง. พระคลังสินค้า - ข ก ง ค
- ก ง ค ข
- ข ก ค ง
- ก ง ข ค
59. ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่งที่ไทยตกลงกับอังกฤษแล้ว ปรากฏว่าไทยมีรายได้แผ่นดินลดลง เป็นเพราะเหตุใด - จีนซึ่งเป็นตลาดการค้าสำคัญของไทยเกิดสงครามกับต่างชาติ
- ไทยเก็บภาษีสินค้าขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3 ของราคาสินค้าเท่านั้น
- ชาติตะวันตกส่งเรือมาค้าขายในจำนวนน้อยลงกว่าเดิม
- การค้ากับต่างชาติตกอยู่ในกำมือของชาวจีนเป็นส่วนใหญ่
60. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของปัญหาความล้มเหลวด้านการคลังของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งถึงช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ขาดอิสระในการจัดการด้านการคลังเกี่ยวกับต่างประเทศ
- รายจ่ายการขยายตัวของโครงสร้างระบบราชการเพิ่มขึ้นตลอด
- ปัญหาการเกษตรที่พึ่งพาธรรมชาติ
- การใช้นโยบายรัฐนิยมทางเศรษฐกิจ
61. เมื่อนายแดงพ้นจากความเป็นไพร่ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาระหลายอย่างสิ้นสุดลง ยกเว้นข้อใด - หมดภาระการเข้าเวร
- หมดภาระการเสียส่วย
- หมดภาระรับใช้บ้านเมือง
- หมดภาระตามระบบอุปถัมภ์
62. การดำเนินนโยบายผูกพันกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนามก่อให้เกิดผลอะไร - ความเจริญทางวัตถุและโอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชนเพิ่มขึ้น
- ธุรกิจในประเทศเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาสังคมลดลง
- ความเจริญทางด้านวัตถุเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาสังคมลดลง
- ธุรกิจในประเทศลดลงแต่วัฒนธรรมแบบไทยเจริญมากขึ้น
63. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงปฎิรูปโครงสร้างการปกครองอย่างขนานใหญ่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาคืออะไร - การถูกมหาอำนาจตะวันตกบีบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
- ความสับสน ซ้ำซ้อน และไร้ประสิทธิภาพของระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์
- การเตรียมรับมือกับการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส
- การดึงอำนาจจากกลุ่มขุนนางเก่ามาขึ้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์
64. งานเขียนเรื่อง "พัทยา" ของดาวหาง จัดเป็นนวนิยายล้อการเมืองเรื่องแรก งานเขียนเล่มนี้ล้อการเมืองอะไรในยุคนั้น - การที่รัฐบาลออกนโยบายรัฐนิยม
- การที่ประเทศไทยประกาศเข้าสงครามโลก
- การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจครั้งแรก
- การทดลองจัดตั้งดุสิตธานี
65. ญี่ปุ่นในโบราณรับอารยธรรมจากจีนมามาก แต่ญี่ปุ่นก็รอดพ้นจากการรุกรานจากจีนและชาติอื่น ๆ จนรักษาลักษณะเฉพาะของตนได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยข้อใดเป็นสำคัญ - การยอมตกเป็นดินแดนอารักขาของจีน
- การเป็นมิตรไมตรีกับชาติตะวันตกมาเป็นเวลานาน
- การมีภูมิประเทศแยกจากพื้นทวีปใหญ่
- การผ่านการปฏิรูปประเทศสมัยเมจิ
66. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดในการปฏิวัติชาติของดร.ซุนยัดเซ็น - ชาตินิยม
- เสมอภาค
- ทุนนิยม
- สังคมนิยม
67. ข้อใดไม่ถูกต้องเรื่องการเรียกร้องเอกราชของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - การเรียกร้องเอกราชเกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
- การเรียกร้องเอกราชเกิดจากความรู้สึกชาตินิยม
- ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นสนับสนุนให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกร้องเอกราชจากประเทศเจ้าของอาณานิคม
- ญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาโดยตลอด
68. การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อย่างไร - เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
- สังคมตะวันตกพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี
- ชนชั้นคนงานก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญเท่าเทียมชนชั้นกลาง
- นำสู่การปฏิรูปปรับปรุงสังคมและการใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ
69. การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในฝรั่งเศสทำให้เกิดหลักการใดอันเป็นที่ยกย่องทั่วไป - ฎีกาเรียกร้องสิทธิ
- ระบบการคานอำนาจ
- ประกาศหลักสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
- เจตนารมณ์การอยู่รอดของผู้ที่เหมาะสมที่สุด
70. ความก้าวหน้าของวิทยาการและวิทยาศาสตร์จะก่อให้เกิดเทคโนโลยีขึ้นได้เมื่อใด - มนุษย์มีความสามารถในการใช้ความรู้เชิงปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
- มนุษย์มีความสามารถในการควบคุมการใช้ความรู้ใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพและปลอดภัย
- มนุษย์มีความสามารถในการควบคุมการใช้ผลงานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
- มนุษย์มีความสามารถในการนำความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและการดำเนินชีวิต
71. การผลิตรถยนต์เป็นแบบอุตสาหกรรมเกิดจากผลงานของบุคคลใด - แรมสัน อี โอลด์ส
- วิลเลียม เฮล
- ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์
- กูกลิเอลโม มาร์โคนี
72. ประเทศที่พัฒนาแล้วมักมีอัตราส่วนการใช้เทคโนโลยีการผลิตอะไรสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา - รถแทรกเตอร์ ปุ๋ย การชลประทาน
- รถแทรกเตอร์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช
- รถแทรกเตอร์ การชลประทาน ยาปราบศัตรูพืช
- ปุ๋ย การชลประทาน ยาปราบศัตรูพืช
73. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาโดยตรงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี - กระดาษและขวดมีอยู่เกลื่อนทางเท้าและถนนในกรุงเทพฯ
- ควันพิษบริเวณถนนสายสำคัญ ๆ ของกรุงเทพฯ
- เสียงดังบริเวณถนนสายสำคัญ ๆ ของกรุงเทพฯ
- ถุงพลาสติกมีมากมายในกองขยะทั่วกรุงเทพฯ
74. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในสังคมมนุษย์ - วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ชีวิตมนุษย์ยากลำบากขึ้น
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติได้
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อม
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกมนุษย์มาใช้เป็นเครื่องมือรับใช้อุดมการณ์ทางการเมือง
75. ข้อใดเป็นเครื่องที่ใช้บอกระดับความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ - งบประมาณที่ใช้ในการบริหารประเทศ
- จำนวนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- มูลค่าสินค้าส่งออกของประเทศ
- การค้าเทคโนโลยีของประเทศ
76. กิจการใดต่อไปนี้แสดงถึงความผิดพลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย - การสร้างสาธารณูปโภคสำคัญ
- การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
- การสร้างสิ่งที่แสดงถึงความเจริญก้าวหน้าในสังคม
- การสร้างสิ่งที่ทำให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่
77. องค์การหรือนโยบายข้อใดไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการแบ่งผิว - ลัทธิไซออนนิสม์ ในตะวันออกกลาง
- สมาคมคู คลักซ์ แคลน ในสหรัฐอเมริกา
- นโยบายออสเตรเลียขาวในออสเตรเลีย
- นโยบาย Aparthied ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
78. ข้อใดจะเป็นสาเหตุที่สำคัญของความขัดแย้งระหว่างคนเมืองและคนชนบทในประเทศไทย - การที่คนเมืองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าคนชนบทมาก
- การที่คนเมืองกดราคาผลผลิตของคนชนบทจนไม่คุ้มทุน
- การที่คนชนบทต้องเปลี่ยนอาชีพมาเป็นกรรมกรในเมือง
- การที่คนชนบทมีค่านิยมในการบริโภคสินค้าและบริการแบบคนเมือง
79. ในสมัยสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเคยลดงบประมาณทางทหารไปช่วงหนึ่ง แต่สมัยประธานาธิบดีท่านใดที่สหรัฐอเมริกากลับมาเพิ่มงบประมาณทหารและมุ่งเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต - จิมมี่ คาร์เตอร์
- โรนัลต์ เรแกน
- จอร์จ บุช
- ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน
80. ถ้าศึกษาปัญหาประชากรของประเทศไทยในลักษณะของทุน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตชนิดหนึ่งทางเศรษฐศาสตร์ หมายความว่าศึกษาในด้านใด - คุณภาพของประชากร
- โครงสร้างของประชากร
- อัตราการเพิ่มของประชากร
- การกระจายรายได้ของประชากร
เฉลย 1. 4 - ทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม 2. 2 3. 3 - เพราะแบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจาก “การเรียนรู้” (คือ เกิดจากการ “สื่อความหมาย” นั่นเอง) 4. 1 - “ความสัมพันธ์ทางสังคม” คือ “โครงสร้างสังคม” นั่นเอง 5. 1 - องค์ประกอบสำคัญของสถาบันคือ กลุ่มคน หน้าที่ แบบแผน และสัญลักษณ์ 6. 1 - ทั้งนี้เพราะบางสถานการณ์ มีสถานภาพแต่ไม่มีบทบาทก็ได้ เช่น รัฐบาลหุ่นเชิด ที่มีแต่ตำแหน่ง แต่ไม่มีหน้าที่ปฏิบัติจริง 7. 2 - ชุมชนขนาดเล็กดั้งเดิมมักใช้ “วิถีชาวบ้าน” และ “จารีต” 8. 3 - ทั้งนี้เพราะสังคมไทยเป็นสังคมชนบท 9. 1 - หลังจากปี พ.ศ. 2504 เราเริ่มมี “แผน” พัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน 10. 2 - ข้อ 1 ที่ถูกคือ “พระเจ้า” สร้างและทำลายโลก - ข้อ 3 มนุษย์มองเห็นปรมาตมันได้ด้วย “ญาณ” - ข้อ 4 ถ้า “อาตมัน” ถึง “โมกษะ” ก็ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก 11. 4 - สัมมากัมมันตะ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย และไม่ผิดในกาม 12. 2 13. 4 14. 1 - เพราะอิสลามห้าม “บูชา” สิ่งอื่นนอกจากพระอัลลอฮ 15. 2 - ทะเลหลวง คือ ทะเลที่ไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของเลย 16. 3 - “การกำหนดนโยบายและออกกำลังทหาร” เป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง 17. 2 - ที่รัฐมนตรี ข ไม่ผิด “ไม่ใช่เพราะเป็นรัฐมนตรี” แต่ “เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย” ซึ่งไม่ว่าใครก็ถือว่าไม่ผิดเหมือนกัน 18. 4 - ข้อ 1 เป็นความเชื่อทางสังคม แต่เขาถามความเชื่อทางการเมือง ข้อ 1 เลยผิด - คนเราไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เรายอมรับว่ามีบางคนมีอำนาจกว่าเราทำให้ยอมรับ “ความมีอำนาจสูงสุดของรัฐ” ข้อ 4 จึงถูกต้อง 19. 2 - จุดแตกต่างของฟาสซิสต์ที่ไม่เหมือนคอมมิวนิสต์ คือ ฟาสซิสต์เป็นพวก “ชาตินิยม” 20. 3 - งานของกระทรวงต่างประเทศเดิมสังกัด “กรมท่า” ซึ่งเป็นหน่วยงานใน “กรมคลัง” 21. 1 - “ประชาธิปไตย” ไม่ใช่จุดเด่นสมัยรัชกาลที่ 5 แต่เป็นจุดเด่นสมัยรัชกาลที่ 7 22. 1 23. 4 24. 2 - รัฐเดี่ยว คือรัฐมีอำนาจอธิปไตยเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งแยก 25. 4 - ประธานรัฐสภาปัจจุบัน คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานรัฐสภาปัจจุบัน คือประธานวุฒิสภา 26. 4 27. 2 - ทั้งนี้ทั้งพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนดต่างก็เป็น “กฎหมาย” ที่ออกมาบังคับประชาชน 28. 1 - ตามหลักที่ว่า “ของจะตกเป็นของคนซื้อ นับตั้งแต่มีการตกลงตรงกัน” ลูกหนี้จึงมีภาระต้องชำระหนี้ทั้ง 500,000 บาทนั้น 29. 4 - หินแกรนิต ไม่โดนน้ำกัด จึงมียอดเขาเป็นโดม เหมือนดังเดิม 30. 1 - ความกดอากาศสูง = อุณหภูมิต่ำ และความกดอากาศ หมายถึงน้ำหนักของอากาศ ข้อ 1 จึงถูกต้อง 31. 1 - เพราะการปลูกหมุนเวียนต้อง “ปลูกหมุนเวียน” ไม่ใช่ปลูกต่อเนื่อง 32. 1 - ถ้าทำข้อ 1 ได้ก็เท่ากับอนุรักษ์ทรัพยากรหลากหลายมากมาย ข้อ 3 จึงเป็นการแค่อนุรักษ์ “ป่า” เท่านั้น 33. 3 - พืชไร่จะขึ้นได้ดีใน “ที่ดอน” หรือ “ลานตะพักลำน้ำ” 34. 2 - ไฟป่าจะเกิดในป่าผลัดใบ เช่น ป่าเบญจพรรณ 35. 3 - ไทยมีอากาศไม่ร้อนมาก มีมรสุมผ่าน และเป็นศูนย์กลางของเอเชียอาคเนย์ 36. 3 37. 2 - ภูเก็ต อยู่ทางอันดามัน ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน 38. 1 - อากาศส่วนใหญ่ของไทยเป็นแบบ Aw ซึ่งก็คือข้อ 1 นั่นเอง 39. 4 - การขาดน้ำในฤดูแล้งนับเป็นปัญหาของหลาย ๆ ภาคของไทย 40. 1 41. 3 - เพราะเค้าถาม “ภาคกลางตอนล่าง” ซึ่งหมายถึง “ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ” ข้อ 3 จึงถูกต้อง 42. 4 - ข้อ 1, 2, 3 มีปัญหาเศรษฐกิจที่ต้อง “ตัดสินใจเลือก” 43. 4 - หลักในการทำกำไร คือ ใช้ต้นทุนที่ต่ำสุด - ข้อ 1 ไม่รู้ว่า วัตถุดิบในประเทศหรือต่างประเทศถูกกว่า - ข้อ 2 ที่ถูกต้อง ต้องตัดคำว่า “ลด” ออก - ข้อ 3 ประหยัดปัจจัยการผลิตจำนวนหนึ่ง? ทำไมประหยัดแค่ “จำนวนหนึ่ง” 44. 3 - ข้อ 3 เป็นการศึกษาราคาสินค้า “หมวดอาหาร” ซึ่งเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาค 45. 4 - ซื้อมาขาย = กระจายสินค้า แลกเปลี่ยน และผลิต(โดยเปลี่ยนสถานที่) 46. 1 - ทุนในทางเศรษฐศาสตร์ไม่รวม “เงิน” 47. 1 48. 1 - กฎอุปทาน พูดว่า ยิ่งของแพง คนยิ่งอยากขายมาก แต่ของโบราณ ยิ่งแพง คนยิ่งไม่อยากขาย 49. 4 - ราคา 130 บาท แพงกว่าดุลยภาพ ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน และนายจ้างจะจ้างแรงงานน้อยลง 50. 4 GPA = GDP + รายได้ที่คนไทยไปทำที่ต่างประเทศ – รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในเมืองไทย = 500 + 30 – 50 = 480 ล้านบาท 51. 1 - รายได้ประชาชาติสูง แต่คนเท่าเดิม จะทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงขึ้น - รายได้ประชาชาติสูงขึ้น ก็หมายถึง “ผลิตภัณฑ์มวลรวม” เพิ่มขึ้น 52. 4 - เพราะค่าเงินบาทใหญ่ขึ้น เมื่อคิดทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินไทยจึงลดลง 53. 3 - ดุลชำระเงิน = ดุลบัญชีเดินสะพัด + ทุนเคลื่อนย้าย ดังนั้น ถ้าดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ดุลชำระเงินจะเกินดุลได้ ก็ต่อเมื่อบัญชีทุนเกินดุลนั่นเอง 54. 4 - เพราะการรวมกลุ่มเพื่อการค้า ไม่ได้รวมถึง “การชำระเงิน” ระหว่างประเทศ 55. 2 - อุปสงค์รวมในระบบเศรษฐกิจ หมายถึง ความต้องการซื้อในตลาดรวม - ถ้าธนาคารพาณิชย์ซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินปล่อยกู้ ในระบบน้อยลงทำให้ความต้องการซื้อในตลาดรวมลดลง 56. 2 - เพราะ NAIS คือ Newly agriculture industrial and service countries 57. 2 - ไพร่เลื่อนฐานะได้โดยการบวชเรียน 58. 4 - เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ เกิดสมัยสุโขมัย - พระคลังสินค้า เกิดสมัยอยุธยา - พระไตรปิฎกฉบับทอง เกิดสมัยรัชกาลที่ 1 - การจัดตั้งธรรมยุตินิกาย เกิดสมัยรัชกาลที่ 3 59. 2 60. 4 - นโยบายรัฐนิยม เกิดสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ได้เกิดสมัยรัชกาลที่ 6 61. 3 - เพราะทุกคนไม่ว่าเป็นใครก็ต้องมีภาระรับใช้บ้านเมืองทั้งนั้น 62. 1 63. 3 64. 1 - “พัทยา” เป็นเรื่องสั้นล้อการเมืองแบบ “รัฐนิยม” สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 65. 3 66. 3 67. 4 - ช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถูกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จับได้ว่าไม่จริงใจ จึงถูกต่อต้าน 68. 1 - ข้อ 1 กล่าวได้ครอบคลุมทุกประเด็นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 69. 3 70. 1 - เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ 71. 1 72. 2 73. 1 - ข้อ 1 เกิดจากการที่คนมักง่ายทิ้งจนบ้านเมืองสกปรก 74. 1 - วิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยีทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสะบายขึ้น ไม่ใช่ลำบากขึ้น 75. 4 - ดัชนีเครื่องบอกความก้าวหน้าเทคโนโลยีของชาติ อย่างหนึ่งคือ “การค้าเทคโนโลยีของประเทศ” 76. 3 - การสร้างสิ่งที่แสดงความเจริญก้าวหน้าในสังคม เป็นเพียงการสร้างเปลือกนอก ไม่ได้เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ถูกต้อง 77. 1 - ไซออนนิสม์ เป็นขบวนการนำคนยิวกลับดินแดนคานาอัน หรืออิสราเอลในปัจจุบัน ไม่ได้เกี่ยวกับการแบ่งผิว 78. 4 - คนชนบทมีค่านิยมฟุ่มเฟือยเหมือนคนในเมือง ทำให้เกิดการเรียกร้องค่าแรงและค่าจ้างกัน จนเป็นปัญหาระหว่างคนเมืองกับคนชนบท 79. 2 80. 1 - “ทุน” คือสิ่งที่เราใช้ไปในการผลิตสินค้า ในบรรดาองค์ประกอบของประชากร เราใช้ “คุณภาพ” ประชากรไปผลิตสินค้า ข้อ 1 จึงถูกต้อง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น